พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  ชาด นครปฐม (พุทธศรัทธา)
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

หนุมานหลวงพ่อสุ่น พิมพ์หน้าโขน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี



พระเครื่อง หนุมานหลวงพ่อสุ่น พิมพ์หน้าโขน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี

พระเครื่อง หนุมานหลวงพ่อสุ่น พิมพ์หน้าโขน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี



รหัสพระเครื่อง   MT1032818
ชื่อพระเครื่อง   หนุมานหลวงพ่อสุ่น พิมพ์หน้าโขน วัดศาลากุน จ.นนทบุรี
ราคา      โทรถาม 
รายละเอียด    "หลวง พ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา"
หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน พระเกจิชื่อดังมีวิทยาอาคมผู้เข้มขลังของ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางรุ่นเก่าๆ
ในแวดวงนักสะสมเครื่องรางของขลัง มักจะพูดกันติดปาก คล้องจองกันว่า เสือหลวงพ่อปานหนุมานหลวงพ่อสุ่น แสดงถึงความเก่งกล้าสามารถในการปลุกเสกเครื่องรางของขลังแต่ละชนิด ของแต่ละพระเกจิอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญคาถาอาคมไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นเรื่อง หนุมาน ของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าต้องยกให้ หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี เกาะเกร็ด เดิมทีไม่ได้เป็นเกาะ เป็นแผ่นดินที่ยื่นออกไปเหมือนแหลมจากพื้นแผ่นดินของอำเภอปากเกร็ด ที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลอ้อมผ่านไปชื่อเดิมคือ บ้านแหลม ในสมัยแผ่นดิน พระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เห็นว่าหากขุดคลองลัดตรงบ้านแหลมแล้ว ระยะทางจะสั้น เรือจะสัญจรไปมาได้สะดวก จึงโปรดให้ขุดคลองลัด เมื่อพ.ศ.๒๒๖๕ เรียกว่า คลองลัดเกร็ดน้อย โดยมีความกว้างเพียง ๖ วา เท่านั้น
ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศ เซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึงกลายเป็นเกาะ เลยเรียกชื่อแผ่นดินที่ถูกคลองขุดตัดขาดจากแผ่นดินใหญ่นี้ว่า เกาะศาลากุน ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุในโฉนดชื่อว่า เกาะศาลากุน ตามชื่อ วัดศาลากุน ที่สร้างโดย เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ตั้งแต่สมัยธนบุรี ต่อมาเมื่อตั้ง อ.ปากเกร็ด จึงเรียกเป็น เกาะเกร็ด
วัดศาลากุน ตั้งอยู่เกือบกลางเกาะเกร็ด ท้องที่หมู่ ๓ บ้านเกาะศาลากุน การเดินทางไปยังวัดนี้ ถ้าหากข้ามเรือที่ท่าวัดกลางเกร็ด เมื่อขึ้นที่ท่าเกาะเกร็ด จะมีถนนไปถึงวัดนี้ได้ ระยะทางประมาณ ๑,๔๐๐ เมตร กล่าวกันว่าวัดนี้เป็นวัดเก่าเช่นกัน เดิมตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เนื่องจากดินริมแม่น้ำงอกขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันนี้จึงอยู่เกือบกลางเกาะเกร็ด โบราณสถานของวัดล้วนสร้างขึ้นใหม่ คืออุโบสถลักษณะทรงโบราณ ๒ ชั้น ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เจดีย์และกุฏิสงฆ์ และยังมีโบราณวัตถุเก่า เช่น โต๊ะหมู่บูชาขนาดใหญ่ประดับมุก เครื่องแก้วเจียระไน และหีบศพประดับมุก
"ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม" เป็นสมญานามที่คนในวงการพระเครื่องตั้งให้กับ หนุมาน หลวงปู่สุ่น นับเป็นสุดยอดของขลังหนึ่งในชุดเบญจภาคี เครื่องรางของขลังของวงการ นักสะสมใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชาไม่แพ้ เขี้ยวเสือแกะ หลวงพ่อปาน
โดยเฉพาะนักสะสมรุ่นใหม่ไฟแรง แพงไม่ว่า ขอให้แท้เป็นทุ่มเข้าสู้ทันที หลวงพ่อสุ่น เรียนวิชาปลุกเสกหนุมาน จากพระนาคทัศน์ คาถาหนุมานคาถากำกับหนุมานให้ว่า "นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"
อย่างไรตาม มีเรื่องเล่าว่า ในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ โดย คณะราษฎร ซึ่งนำโดย พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา กับคณะทหารและพลเรือนที่อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "คณะปฏิวัติ" ในครั้งนั้นท่านได้ไปหาหลวงพ่อสุ่น ทั้งนี้หลวงพ่อสุ่นให้หนุมานหน้าโขนมาตัวหนึ่งโดยให้พกติดตัว พร้อมกับบอกในลักษณะที่ว่า ผ่านไปสักพักเรื่องเลวร้ายก็ผ่านไปด้วยดี
ในที่สุดก็เป็นอย่างที่หลวงพ่อสุ่นพูด ภายหลัง พ.อ.พระยาพหลพลหยุหเสนา นำเรือที่เป็นพาหนะส่วนตัวถวายหวงพ่อสุ่น ปัจจุบันนี้ยังปรากฏว่ามีอยู่ จากนั้นพุทธคุณของหนุมานหลวงพ่อสุ่นก็เป็นที่ร่ำรือว่ามีพุทธคุณเด่นทางคง กระพันชาตรี แคล้วคลาด
สำหรับจำนวนการสร้างหนุมานหลวงพ่อสุ่นนั้น ลุงด้วง สุขทอง (เกิด พ.ศ.๒๔๖๑) บุตรชายของ นายปลิว สุขทอง อดีตมัคทายกวัดศาลากุน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับหลวงพ่อสุ่น ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างหนุมานของหลวงพ่อสุ่นว่า หนุมานแกะจาก ไม้รากไม้รัก-ไม้รากพุดซ้อน และ งาช้างขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ช่างแกะชื่อ นายมี ไม่ทราบนามสกุล แกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่อง และไม่ทรงเครื่อง ตัวไม่ใหญ่โตมากนัก กว้างประมาณครึ่งนิ้ว สูงประมาณ ๑ นิ้วเศษ โดยมีการสร้างครั้งใหญ่ๆ อยู่ ๒ ครั้ง คือ
ครั้งแรกสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ จำนวนการสร้างไม่มากนัก น่าจะไม่เกิน ๑๐๐ ตัว แกะจาก ไม้รากรัก-พุดซ้อน เป็นหนุมานไม่ทรงเครื่อง ทำแจกฟรีในงานบุญต่างๆ ของวัดโดยไม่มีการจำหน่าย
ครั้งที่ ๒ สร้างปลาย พ.ศ. ๒๔๗๐-พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยนำออกจ่ายแจกในงานทอดกฐินของ วัดศาลากุน ใน พ.ศ.๒๔๗๒
หนุมานที่ทำในคราวนั้น มีทั้งแบบทรงเครื่องหน้าโขน และ หนุมานหน้ากระบี่ไม่ทรงเครื่อง แกะจากไม้รากรัก-พุดซ้อน และ งานช้าง จำนวนการสร้างประมาณ ๒๐๐ ตัว ญาติโยมทางกรุงเทพฯ ได้รับแจกไปจำนวนมาก เพราะเป็นเจ้าภาพในบุญทอดกฐินปีนั้น ลักษณะการแกะ แกะเป็นรูปหนุมานนั่งยองๆ จับเข่า อ้าปากเห็นลิ้นกับฟัน มีทั้งแบบทรงเครื่องหน้าโขน และ หน้ากระบี่ไม่ทรงเครื่อง ทั้งนี้แบบทรงเครื่องดูสวยงาม และ
อลังการมากกว่า แต่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะหนุมานของหลวงพ่อสุ่น มีของทำเลียนแบบจำนวนมาก ต้องพิจารณาจากความเก่าของ งา และ ไม้ที่นำมาแกะ
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ ชัดเจน คือหนุมานหลวงพ่อสุ่น ถ้าเป็นเนื้อไม้จะมีรอยร้าว และ เนื้อไม้จะแห้ง ส่วนหนุมานเนื้องาแกะ เนื้อจะต้องแห้งเก่า แต่แฝงด้วยความฉ่ำ แบบเดียวกับงาแกะเนื้อหลวงพ่อเดิม อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อสุ่นไม่มีประวัติการเรียนอาคมจากพระเกจิอาจารย์ท่านใดไม่มีประวัติ แน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า อาจจะเรียนมาจาก หลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง เพราะ หลวงพ่อสุ่นกับหลวงพ่อกลิ่น เคยสนทนากันว่า "เมื่อร่ำเรียนวิชามาแล้ว ก็ต้องทำของแจกชาวบ้านบ้าง"
โดยการสร้างหนุมานทั้ง ๒ ครั้ง หลวงพ่อสุ่นจะปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ คาถาปลุกหนุมาน ผู้เคยใช้หนุมานหลวงพ่อสุ่น ต่างมีความเชื่อว่ามีพุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอำนาจ
ประวัติหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
ส่วนประวัติของหลวงพ่อสุ่น ไม่เป็นที่กระจ่างนัก เล่ากันว่าท่านชื่อ สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ เป็นชาวปากเกร็ดโดยกำเนิด เกิดเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๓๕ เมื่อบวชแล้วได้ฉายาว่า จันทโชติ แปลว่า รุ่งเรืองดุจจันทร์เพ็ญ ไม่ปรากฏนามพระอุปัชฌาย์อาจารย์
จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นสมภาร ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา เมื่อเป็นสมภารคลองวัด จึงให้ลูกศิษย์ขุดรากไม้รักและพุดซ้อนตากจนแห้ง ให้ช่างมีฝีมือแกะเป็นรูปหนุมานทรงเครื่องสวยงาม นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อสุ่นยังเป็นหนึ่งในพระคณาจาจารย์ผู้ลงอักขระบนแผ่นทองแดงใช้เป็นมวล สารในการจัดสร้างเหรียญที่ระลึก วัดราชบพิธฯ ครั้งที่ ๔ (พ.ศ.๒๔๘๑) หลวงพ่อสุ่น เป็นสหธรรมิกของ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง โดยมีอายุมากกว่าหลวงพ่อกลิ่นประมาณ ๕ ปี
เมื่อราว พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๒ หลวงพ่อสุ่นมรณภาพ สิริอายุประมาณ ๗๘ ปี ในวันประชุมเพลิงหลวงพ่อสุ่นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ นั้น หลวงพ่อกลิ่นมาเป็นเจ้าภาพด้วยตัวเอง คาถาหนุมานคาถากำกับหนุมานให้ว่า "นะมัง เพลิง โมมังปากกระบอก ยะมิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุโรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"
เข้าชมร้าน     ชาด นครปฐม (พุทธศรัทธา)
โทรศัพท์     094 997 9945 , 0 949 979 945
ผู้เข้าชม   4000
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา