พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  หนิงสายตรงพระเครื่อง,Collectiongkok
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พุทธกวัก สวยๆดูง่ายๆๆมาก องค์แชมป์.



พระเครื่อง พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พุทธกวัก สวยๆดูง่ายๆๆมาก องค์แชมป์.

พระเครื่อง พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พุทธกวัก สวยๆดูง่ายๆๆมาก องค์แชมป์.



รหัสพระเครื่อง   MT1023102
ชื่อพระเครื่อง   พระวัดท้ายตลาด พิมพ์พุทธกวัก สวยๆดูง่ายๆๆมาก องค์แชมป์.
ราคา      โทรถาม 
รายละเอียด   วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุ พระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" เช่นกัน ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาดนับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาด มาโดยตลอด อาทิเช่น รัชกาลที่1 ทรงโปรดฯ อาราธนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด รัชกาลที่2 ทรงพระราชทานนามวัดท้ายตลาดว่า"วัดพุทไธศวรรยาวาส”หรือ"วัดพุทไธศวรรย์"ต่อ มาพระราชทานนามใหม่เป็น"วัดโมลีโลกยาราม"จนถึงปัจจุบัน และพระราชโอรสในพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ก็เสด็จไปศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้น กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ที่วัดนี้ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 3 เมื่อคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)พระราชกรรมวาจาจารย์ของ พระองค์มรณภาพลง ทรงโปรดฯให้หล่อพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)2รูป“รูปเล็ก”บูชาอยู่ใน หอพระเจ้า ส่วน“รูปใหญ่”ทรงโปรดฯให้สร้างหอเพื่อเป็นที่ประดิษฐานไว้ที่วัดโมลีโลกยา รามหรือวัดท้ายตลาด โดยเป็นการหล่อในโอกาสเดียวกับรูปหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชพระญาณ สังวร(สุก)สังฆราชไก่เถื่อน ที่วัดพลับ มาถึงสมัยรัชกาลที่4และรัชกาลที่5ก็ยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามอย่าง สม่ำเสมอ และในคราวที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯพระราชทานพระกฐิน จะทรงเสด็จฯ ไปสักการะพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน)ทุกครั้ง พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง89,000องค์และมีหลายแบบหลายพิมพ์ มากกว่า50พิมพ์ เช่น
1.พระพิมพ์สมาธิบัวสองชั้น
2.พระพิมพ์พระแม่ธรณีบีบมวยผม ใหญ่-เล็ก
3.พระพิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร
4.พระพิมพ์ซุ้มปราสาท(เก๋งจีน)
5.พระพิมพ์พระเจดีย์
6.พระพิมพ์ปรกโพธิ์ ใหญ่-เล็ก
7.พิมพ์มารวิชัยข้างเม็ด
8.พิมพ์มารวิชัยข้างเส้น
9.พระพิมพ์พุทธกวัก(ปางรับผลมะม่วง)
10.พระพิมพ์นางกวัก
11.พระพิมพ์สังกัจจายน์
12.พระพิมพ์สมาธิแหวกม่าน
13.พระพิมพ์เล็บมือ
14.พระพิมพ์หยดแป้ง
15.ปางรำพึง
16.ปางถวายเนตร
17.ปางป่าเลไลย์ ใหญ่-เล็ก
18.ปางนาคปรก ใหญ่-เล็ก
19.ปางไสยาสน์
20.ปางอุ้มบาตร
21.ปางห้ามสมุทร
22.พระปิดตานะหัวเข่า
23.พระปิดตานั่งยอง
24.พระปิดตายันต์เฑาะว์
25.พระปิดตาสมาธิเพชร-สมาธิราบ ฯลฯ
ซึ่งปางต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่3ทั้งสิ้น นอกจากนี้พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ“ช่างหลวง”ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณ กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงโปรดฯให้สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆในพระพุทธประวัติ(นับรวมกับแบบเดิม8ปาง เป็น40ปางประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่3และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือการจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง8หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่ง ขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่อง พระบูชาไทยไปแล้ว ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา“พระวัดท้ายตลาด”ประการหนึ่ง คือนอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อม วัดนางชี และวัดบางสะแก จ.สมุทรสงคราม เป็นต้น ดังนั้นจากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วยเช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด ความนิยมจึงลดหลั่นแตกต่างกันไปครับผม
สำหรับองค์ที่นำมาให้ศึกษาองค์นี้เป็นพิมพ์พุทธกวัก สภาพสวยแชมป์ งดงามดั้งเดิม ไร้ศัลยกรรมใดๆทั้งสิ้น
เข้าชมร้าน     หนิงสายตรงพระเครื่อง,Collectiongkok
โทรศัพท์     08-89522202. , 029323241
ผู้เข้าชม   6109
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา