พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  xxxx
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์กลาง สุพรรณบุรี



พระเครื่อง พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์กลาง สุพรรณบุรี

พระเครื่อง พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์กลาง สุพรรณบุรี



รหัสพระเครื่อง   MT1020486
ชื่อพระเครื่อง   พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์กลาง สุพรรณบุรี
ราคา      โชว์พระ 
รายละเอียด    จังหวัด สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งทางภูมิภาคตะวันตก เป็นเมืองโบราณมาตั้งแต่ สมัยอู่ทองเป็นราชธานี แต่ก็ยังอยู่ในอาณัติของ กรุงสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.1873 เมืองทวายและตะนาวศรี ซึ่งเป็นหัวเมืองมอญขึ้นอยู่กับกรุงสุโขทัย พอเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครใหม่เป็นเจ้าแสนเมืองมิ่ง ไม่ยอมขึ้นกับกรุงสุโขทัย พระเจ้าเลอไทย กษัตริย์กรุงสุโขทัย รัชกาลที่ 4 ยกกองทัพไปตี เมืองทวายและตะนาวศรี พ่ายแพ้กลับมา

ขณะนั้น พระเจ้าอู่ทอง รัชกาลที่ 3 ครองราชย์อยู่ที่ เมืองอู่ทอง จึงยกกองทัพไปตี เมืองทวายและตะนาวศรี ได้ชัยชนะกลับมา เป็นการกู้เกียรติให้กับกรุงสุโขทัย ในการรบครั้งนี้เชื่อว่า ขุนหลวงพงั่ว คงจะไปร่วมรบด้วย ทำให้เมืองอู่ทองเป็นที่หวั่นเกรงแก่เมืองต่างๆ ตลอดจนกษัตริย์ทางเมืองเหนือ

พระเจ้าอู่ทอง (3) หรือ พระยาศรีธรรมโศกราช ทรงสร้างพระปรางค์ขึ้นที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กำหนดเฉลิมฉลองพระปรางค์ พร้อมกับประจุ พระเครื่อง - พระบูชา ไว้ในองค์พระปรางค์ เพื่อพุทธบูชา อุทิศแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางเมืองเหนือทราบเรื่องราวนี้เข้า ฤาษี 11 ตน อันมี ฤาษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน กล่าวแก่ฤาษีทั้งหลายว่า เราจะเอาอะไรไปให้ พระยาศรีธรรมโศกราช ปรึกษากันแล้วสร้างพระขึ้นแล้วนำเอามาร่วมบรรจุใน องค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งก็ปรากฏเป็นความจริงว่า พระตระกูลทางเหนือ เช่น พระตระกูลกำแพง พระร่วงยืน พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล ฯลฯ และอีกหลายพิมพ์มาอยู่ใน กรุพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

นอกจากพระทางเหนือแล้ว ยังมี ศิลปะลพบุรี ก็มาบรรจุร่วมด้วย พิจารณาได้ 2 สถาน คือ พระเจ้าราม พระราชโอรสกษัตริย์ผู้ครอง เมืองลพบุรี มาอภิเษกสมรสกับ พระราชธิดาของ พระเจ้าอู่ทอง (3) เมื่อมีความเกี่ยวดองกัน กษัตริย์เมืองลพบุรี อาจจะเอาพระสมัยลพบุรีมาร่วมประจุด้วย

อีกสถานหนึ่ง เมือง สุพรรณบุรี ขอมมาปกครองอยู่นานถึง 2-3 ร้อยปี เมื่อ พ.ศ.1800 กรุงสุโขทัย ลุกขึ้นขับไล่ขอม แล้วสถาปนาเป็น อาณาจักรสุโขทัยขึ้น ปรากฏว่าขอมหายไปไหนหมด รวมทั้งที่ สุพรรณบุรี ด้วย บางส่วนอาจกลับ กรุงกัมพูชา บางส่วนอาจจะกลายเป็น คนไทย ไปโดยปริยาย คนเหล่านี้สร้างพระในศิลปะของขอมขึ้น แล้วร่วมประจุใน องค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก็เป็นได้

ในส่วนของทางอู่ทอง พระเจ้าอู่ทอง (3) ก็สร้างพระใน ศิลปะอู่ทอง ขึ้นเช่นกัน เช่น พระผงสุพรรณ พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาล พระปทุมมาศ พระขุนแผนเรือนแก้ว พระสุพรรณขาโต๊ะ ฯลฯ

บรรดาพระที่กล่าวมาแล้วนั้น พระมเหศวร พิมพ์ แปลกกว่าทุกๆ พิมพ์ เป็นพระสองหน้า พระเศียรกลับกัน ผู้ใหญ่สมัยโน้นบอกว่า ก่อนนี้เขาเรียกว่า พระสวน เนื่องจาก พระเศียรสองหน้า สวนกลับกันไปมา ถามว่าแล้วใครเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น พระมเหศวร ตอบไม่ได้ สันนิษฐานว่าผู้บูชา พระสวน ไปประสบกับเหตุการณ์อันตรายแล้วไม่เป็นอะไร แคล้วคลาด ปลอดภัย ตลอดจน อยู่ยงคงกระพัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น พระมเหศวร ซึ่งแปลว่า เทวดา ดังนั้น ผู้บูชา พระมเหศวร ก็เท่ากับ บูชาเทวดา นั่นเอง เทวดาย่อมคุ้มครองผองภัยให้แก่ผู้บูชา อันเป็นความประสงค์ของทุกๆ ท่าน มากกว่าจะไปพะบู๊ตีรันฟันแทงกับนักเลงก็หาไม่

พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี พิมพ์กลาง พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี พิมพ์เล็ก พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี พิมพ์กลาง

พระมเหศวร มีอยู่ด้วยกัน 4 พิมพ์ คือ พิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์ใหญ่พิเศษ ในจำนวนนี้ พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ มีมากกว่าทุกๆ พิมพ์รวมกัน ดังนั้น พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ จึงเป็นพิมพ์ที่อยู่ในความนิยมมากที่สุด ขออธิบายพุทธลักษณะของ พระมเหศวร พิมพ์ต่างๆ ดังนี้

1. พระมเหศวร พิมพ์เล็ก พระมเหศวร ทุกพิมพ์ กรอบพิมพ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เว้ากลาง พิมพ์เล็ก กรอบพิมพ์สูงราว 3 ซม. พระเศียรเล็กคล้ายผลมะตูม พระเกตุรัศมีแหลมยาว ลำพระองค์ป้อม พระกัปประ (ข้อศอก) ซ้ายโค้งมน พระหัตถ์ซ้ายเป็นปุ่มนูน พระเพลาไม่ชัดเจน ประทั่งนั่งเหนือฐานเส้นลวด 2 เส้น ผนังข้างพระพักตร์ไม่มีขีด แต่มีปุ่มนูน

2. พระมเหศวร พิมพ์กลาง กรอบพิมพ์สูงราว 3.5 ซม. องค์พระใหญ่กว่าพิมพ์เล็กนิดหน่อย พระพักตร์ผลมะตูม พระเกตุรัศมีแหลม ลำพระองค์ พระอุระกว้าง พระอุทรแคบ พระกัปประ (ข้อศอก) ซ้ายหักเป็นมุมศอกแล้วเฉียงลง พระหัตถ์วางอยู่ใต้พระอุทร พระหัตถ์ขวาวางที่พระเพลาเป็นปุ่มใหญ่ ประทับนั่งเหนือฐานหน้ากระดานแอ่น (คล้ายเส้นลวด 2 เส้น)
พระมเหศวร ทั้งสองพิมพ์นี้ มีจำนวนน้อยกว่า พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ มาก
เข้าชมร้าน     xxxx
โทรศัพท์     xxx-xxx-xxxx ,
ผู้เข้าชม   8537
*** พระมเหศวร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิมพ์กลาง สุพรรณบุรี ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา