พระเครื่อง มณเฑียร

ฟิล์ม นคราชสีมา  
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

เหรียญท้าวสุรนารี (ย่าโม) 2477 ทองแดง กะไหล่ทอง



พระเครื่อง เหรียญท้าวสุรนารี (ย่าโม) 2477 ทองแดง กะไหล่ทอง

พระเครื่อง เหรียญท้าวสุรนารี (ย่าโม) 2477 ทองแดง กะไหล่ทอง



รหัสพระเครื่อง   MT1020227
ชื่อพระเครื่อง   เหรียญท้าวสุรนารี (ย่าโม) 2477 ทองแดง กะไหล่ทอง
ราคา      โทรถาม 
รายละเอียด    ท้าวสุรนารี (โม) ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า? ?เหรียญย่าโม?? รุ่นแรก? ปี พ.ศ.2477 นั้นเป็นยอดวัตถุมงคลประเภทเหรียญหลักของจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับหนึ่งของโคราช และเป็นเหรียญที่เสาะหาได้ค่อนข้างยากในปัจจุบันนี้? นอกจากจะมีพุทธคุณดีเด่นแทบทุกด้านแล้ว? ลักษณะทรวดทรงเหรียญยังมีเอกลักษณ์พิเศษ คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด? มีขนาดสูง 3.5 ซม.? กว้าง 2.7 ซม.? หนาหนึ่งมิลลิเมตรเศษ? เจาะรูในตัวเหรียญ? มีขนาดกะทัดรัดดี? เหมาะแก่การบูชาใช้ติดตัวทั้งชายและหญิง? โดยเฉพาะความประณีตงดงามของการแกะเหรียญนี้? ยากที่จะหาเหรียญอื่นงามเสมอเหมือนได้ในโคราช

ลักษณะเหรียญ
ด้านหน้าเป็นรูปท้าวสุรนารี? (คุณหญิงโม)? ตัดผมทรงดอกกระทุ่ม? ประดับกายด้วยเครื่องยศทองคำพระราชทาน? นุ่งผ้าจีบยกทองคาดเข็มขัด? ห่มสไบกรองทองเฉียงบ่าซ้าย? สวมตุ้มหูห้อยระย้า? สวมตะกรุดพิสมรมงคลสามสายทับสไบ? มือขวากุมดาบ? ด้ามดาบจำหลักลายสอดอยู่ในฝัก? ปลายดาบจรดพื้นดิน? มือซ้ายท้าวสะเอว? หันหน้าตรง? ก้มหน้าเล็กน้อย? เบื้องหลังเป็นใบเสมาโค้งที่แกะเว้าลึกลงไปในเนื้อเหรียญ? ที่ด้านข้างมีอักษรไทย? ?น.? กับ ?ร.?? อันเป็นนามย่อ นครราชสีมา? ข้างล่างมีตัวหนังสือไทยเขียนว่า? ?ท้าวสุรนารี? โม.?

ด้านหลังเหรียญ มีซุ้มประตูชุมพล? เป็นศาลาเรือนไทยมุงหลังคาสองชั้นลดหลั่นกันลงมาคลุมกำแพงเมืองโคราช? ด้านล่างมีตัวหนังสือไทยห้าแถว? อ่านว่า? ?ที่ระลึกในงานฉลองอนุสสาวรีย์ท้าวสุรนารี? พ.ศ.2477?? รอบๆ เหรียญยกขอบนูนเล็กน้อย

เนื่องจากทางราชการจังหวัดนครราชสีมาได้จัดให้มีงานฉลองอนุสาวรีย์นี้เป็นครั้งแรก? โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม? พ.ศ.2477? งานฉลองเป็นเวลา 7 วัน? 7 คืน? ดังนั้น? เหรียญรุ่นแรกจึงแจกแก่ผู้มาร่วมงานฉลองในช่วงเวลาดังกล่าวนี้? และผ่านพิธีปลุกเสกโดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส? อ้วน)? ตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา? ฝ่ายธรรมยุตขณะนั้น? และท่านเจ้าคุณพระโพธิ-วงศาจารย์? (สังข์ทอง? นาควโร)? เจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร? เลขที่ 774? ตำบลในเมือง? อำเภอเมืองนครราชสีมา? จังหวัดนครราชสีมา? ซึ่งท่านครองวัดนี้ระหว่างปี พ.ศ.2476-2489? รวม 13 ปี

เหรียญท้าวสุรนารี? รุ่นแรก? ชนิดเนื้อทองแดง? คาดว่ามี 3,000 เหรียญเท่านั้น? สำหรับเนื้อเงินมีจำนวนไม่เกินร้อยเหรียญ? ส่วนเนื้อทองคำมีเพียงไม่กี่เหรียญเท่านั้น? อนึ่ง เกี่ยวกับสนนราคาเหรียญทองแดง? ถ้าสภาพสวยคมชัดอาจสูงถึงหลักหมื่นขึ้นไป? ส่วนเหรียญเงินสภาพสวยก็ย่อมมีสนนราคาสูงเกินห้าหมื่นขึ้นไป? ยิ่งเมื่อช่วงเศรษฐกิจดีหลายปีก่อนเคยบูชาเช่าเหรียญเงินที่มีสภาพคมกริบถึงแสนเศษ

ประวัติย่อ
ท้าวสุรนารี? มีนามเดิมว่า? โม? เป็นบุตรี? นายถิม - นางบุญมา? ตระกูลผู้ดีเก่าของเมืองโคราช? เกิดเมื่อปีเถาะ? พ.ศ.2314? ใน แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช? ในวัยเด็กมีหน้าตาหมดจด? เฉลียวฉลาด? และชอบเล่นผาดโผน? เก่งทางฟันดาบ? เล่นกระบี่กระบอง? ครั้นเติบใหญ่เป็นสาวที่สวยงาม? เก่งการบ้านการเรือน? เมื่อมีวัยสมควรที่จะออกเรือนได้แล้ว? บิดา-มารดาก็จัดการตกแต่งให้เป็นภริยาของ? พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย? (ทองคำ)? ปลัดเมืองนครราชสีมา? มีชื่อเรียกขานกันสั้นๆ ว่า? พระยาปลัด? ดังนั้น จึงมีชื่อเรียกว่า? คุณหญิงโม

ท่านได้ช่วยราชการงานเมืองเป็นเนืองนิตย์? จนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจ? และนิยมรักใคร่ของชาวโคราชทั่วไป? จวบจนกระทั่งปีจอ? พ.ศ.2367? บังเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว? รัชกาล ที่ 3? แห่งกรุงรัตนโกสินทร์? ช่วงปีนั้นมีข่าวลือออกไปถึงเมืองเวียงจันทน์ว่าไทยเกิดวิวาทกับอังกฤษ? อังกฤษจะยกกองเรือเข้ามาล้อมกรุงเทพฯไว้

เมื่อพุทธศักราช 2369? เจ้าอนุรุทธราช? (เจ้าอนุวงศ์)? ผู้ครองนครเวียงจันทน์? ได้ยกทัพมีกำลังไพร่พลเก้าพันเศษเข้ามาตีเมืองไทย? โดยตีหัวเมืองรายทางได้มาตลอดภาคอีสาน? โดยเจ้าราชบุตร (โย้)? บุกเข้ายึดเขมราษฎร์? ศรีสะเกษ? เดชอุดม? ยโสธร? และอุบลราชธานี? ให้เจ้าอุปราช? (ตีสสะ)? บุกเข้ายึดกาฬสินธุ์? สุวรรณภูมิ? ขอนแก่น? ร้อยเอ็ด? ครั้นปีรุ่งขึ้น? เจ้าอนุฯกับเจ้าสุทธิสาร? (โป๊ะ)? เป็นกองทัพหลวง? เจ้าราชวงศ์ (เง่า)? เป็นกองทัพหน้า? บุกข้ามแม่น้ำโขง? ตีเมืองหนองคาย? อุดรธานี? ลงมาถึงบ้านดอนสาร? พักไพร่พลหนึ่งเดือนรวบรวมเสบียงกรังได้เพียงพอ? จึงให้เจ้าราชวงศ์ (เง่า)? เป็นแม่ทัพหน้าคุมกำลังสามพัน? ลงมาถึงนครราชสีมา

วันที่ 14 กุมภาพันธ์? พ.ศ.2369? หลอกเบิกเสบียงอาหาร? พระยาพรหมภักดี? ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมารู้ไม่เท่าทัน? ก็จัดหาเสบียงให้ไป? เจ้าราชวงศ์ (เง่า)? ได้เสบียงครบถ้วน? ก็ให้แม่ทัพนายกองยกไพร่พลลงมากวาด ต้อนครอบครัวลาวซ้งดำในแถบสระบุรีก่อน? ครั้นแล้วเจ้าอนุฯกับเจ้าสุทธิสาร (โป๊ะ)? ก็ยกกองทัพหลวงตามมาทางเมืองภูเขียว? ชนบท? พุทไธสง? ชัยภูมิ? ผ่านได้โดยสะดวก? เพราะเจ้าเมืองเหล่านั้นคิดว่าทางกรุงเทพฯคงเกณฑ์กองทัพหัวเมืองให้มาช่วยต่อสู้อังกฤษ? ไม่ช้าเจ้าอนุฯกับเจ้าสุทธิสาร (โป๊ะ)? ก็ยกทัพหลวงมาถึงเมืองนครราชสีมา? ในราววันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369

ขณะนั้นเผอิญเจ้าพระยานครราชสีมาเจ้าเมืองไม่อยู่? ไปราชการทัพ? โดยมีพระกระแสรับสั่งโปรดเกล้าฯให้ไประงับเหตุร้ายระหว่างพระยาไกรสรสงคราม? (เจ้าเมืองขุขันธ์)? กับหลวงยกกระบัตร? ถึงกับรบพุ่งกัน? เผอิญ? พระยาปลัด? (ทองคำ)? เมืองโคราช? ก็ได้ติดตามราชการไปด้วย? คงเหลือแต่พระยาพรหมภักดีกับคุณหญิงโมเฝ้าเมืองนครราชสีมา? เจ้าอนุฯจึงตีเมืองนครราชสีมาได้? เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์? พ.ศ.2369? โดยง่ายดาย? และได้กวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองโคราช? กลับไปเมืองหลวงของตนโดยด่วน? และให้กองทัพรีบรุดยกไปสระบุรี? เตรียมที่จะเข้ากรุงเทพฯต่อไป

ครั้งนั้นเจ้าอนุฯสั่งให้ริบอาวุธของชาวโคราชหมดสิ้น? แม้แต่มีดพร้าสักเล่มก็มิให้มีติดตัว? ฝ่ายคุณ-หญิงโมเมื่อถูกกวาดต้อนเป็นเชลยศึกก็มิได้ตกใจเสียขวัญ? กลับคิดหาอุบายกำจัดศัตรูข้าศึก? และแกล้งเดินทางช้าลงเพื่อรอพระยาปลัดเมืองโคราชกลับมาช่วยเหลือผู้คนที่ถูกกวาดต้อนเดินทางเข้าสู่ทุ่งสัมฤทธิ์? แขวงเมืองพิมาย? ครั้งนั้นเจ้าอนุฯสั่ง? เพี้ยรามพิชัย? เป็นหัวหน้าคุมทหาร 200 คน? ดูแลครอบครัวเชลยที่มีคุณหญิงโมกับนางสาวเหลือ? บุตรีหลวงเจริญ? ซึ่งแกล้งหน่วงเหนี่ยวชาวโคราชที่เป็นเชลยให้เดินทางช้าๆ พอมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์? แขวงเมืองพิมาย? ก็ออกอุบายอ้อนวอนผู้คนให้หยุดพักรับประทานอาหารเย็น

คุณหญิงโมก็นัดแนะหนุ่ม-สาวให้อ้อนวอนขอมีดพร้าไว้ใช้ผ่าฟืนหุงอาหาร? แต่แอบนำไปตัดไม้ยาวนำมาเสี้ยมให้แหลมคมเพื่อใช้ต่างหอก? แหลน? หลาวได้? ตอนเย็นหุงหาอาหารนำไปเลี้ยงเหล่าทหารผู้คุมจนตายใจ? ไว้วางใจ? ตกดึกตีสาม? คุณหญิงโมก็แนะอุบายให้สาวๆ? ที่ปรนนิบัติเข้าแย่งอาวุธทำลายข้าศึกขณะนอนหลับเมามาย? ส่วนเชลยผู้ชายก็ให้ใช้ไม้ที่เสี้ยมแหลมนำมาทิ่มแทงข้าศึกตายเกือบหมด? เหลือเอาตัวรอดไปได้เพียงไม่กี่คน? ครั้งนั้นศพทหารข้าศึกกองสูงทับถมกันส่งกลิ่นเหม็นตลบ? คุณหญิงโมจึงให้ชายฉกรรจ์ช่วยกันลากศพไปทิ้งในหนองน้ำแห่งหนึ่งจนเต็ม? หนองน้ำแห่งนี้จึงมีชื่อว่า? ?หนองหัวลาว?? ทุกวันนี้ยังปรากฏอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์? แขวงเมืองพิมาย

ครั้งนั้นทางกรุงเทพฯโปรดเกล้าฯให้? กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์? (พระองค์เจ้าช้าง)? เป็นแม่ทัพ? คุมกำลังทัพหลวงเสด็จยกทัพออกจากพระนคร? วันที่ 3 มีนาคม? พ.ศ.2369? พระยาราชสุภาวดี? (สิงห์? สิงหเสนี)? เป็นกองทัพหน้า? ซึ่งภายหลังทำสงครามครั้งนี้ก็รบชนะเจ้าอนุวงศ์? จนกระทั่งจับตัวส่งเข้ากรุงเทพฯได้? จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งพระยาราชสุภาวดีเป็น? เจ้าพระยาบดินทรเดชา? (สิงห์)? ดำรงตำแหน่งสมุหนายก? แล้วโปรดเกล้าฯสถาปนาคุณ-หญิงโม? ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น? ?ท้าวสุรนารี?? พร้อมเครื่องยศทองคำเป็นเกียรติยศ? ในปี พ.ศ.2372? ขณะนั้นมีอายุได้ 58 ปี? ส่วนพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา? ผู้เป็นสวามีของท้าวสุรนารีนั้น? ก็โปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น? เจ้าพระยามหิศราธิบดี? ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา? ล้วนจารึกเป็นเกียรติยศในพระราชพงศาวดารสืบมาจนทุกวันนี้

เมื่อได้รับพระราชทานเลื่อนยศบรรดาศักดิ์แล้ว? ท้าวสุรนารี (โม)? กับเจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ)? ซึ่งมีนิวาสถานบ้านเรือนตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน? ตรงข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช? (วัดกลางนคร)? ก็ได้บำเพ็ญการกุศลครั้งใหญ่เพื่ออุทิศไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับเสียชีวิตไปครั้งออกศึกสงครามที่ทุ่งสัมฤทธิ์? และได้สร้างวัดศาลาลอย? ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองด้านขวาของลำน้ำตะคอง? อนึ่ง ตลอดชีวิตของท้าวสุรนารี (โม)? หาได้มีบุตร-ธิดาไว้สืบสกุลไม่? บั้นปลายชีวิตท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม? เมื่อเดือน 5? ปีชวด? จัตวาศก? จ.ศ.1214? ตรงกับเดือนเมษายน? พ.ศ.2395? อายุ 81 ปี? เจ้าพระยามหิศราธิบดี? ผู้เป็นสวามี? ได้ฌาปนกิจศพและสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้? ณ วัดศาลาลอย

ครั้นต่อมาราว 50 ปี? เจดีย์นั้นได้ชำรุดลง? พลตรีพระยาสิงหเสนี? (สอาด? สิงหเสนี)? เมื่อครั้งเป็นพันเอกพระยาประสิทธิ์ศัลการ? ข้าหลวงเทศาภิบาล? ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา? ได้บริจาคเงินสร้างกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิท้าวสุรนารี (โม)? เป็นรูปสี่เหลี่ยมสี่คูหา? มียอดเจดีย์บรรจุอัฐิ? แล้วย้ายอัฐิท้าวสุรนารี? จากวัดศาลาลอยนำมาบรรจุไว้ที่มุมวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร)? ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ? สร้างแล้วเสร็จ? เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2442

ครั้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง? ในปี พ.ศ.2475? แล้วเกิดกบฏบวรเดชขึ้น? กู่อัฐิดังกล่าวก็ได้ถูกละเลยไว้นานจนชำรุดทรุดโทรม? ทั้งอยู่ในที่คับแคบ? ไม่สง่าสมเกียรติ? พระยากำธรพายัพทิศ? (ดิส? อินทรโสฬส)? ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา? นายพันเอก? พระเริงรุกปัจจามิตร? (ทอง? รักสงบ)? ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3? พร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมา? ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์? รูปท้าวสุรนารี? ด้วยทองแดงรมดำ? นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ในฐานรองรับ? สร้างเสร็จประดิษฐานไว้ ณ ประตูชุมพล? เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2477

โดยทางราชการมอบให้กองหัตถศิลป์? กรมศิลปากร? เป็นผู้ออกแบบ? ปั้นหล่อ? โดย? ศาสตราจารย์ศิลป? พีระศรี? ร่วมกับ? พระเทวาภินิมมิต? (ฉาย? เทียม-ศิลป์ชัย)? ชาวบ้านโพธิ์? อำเภอเมือง? จังหวัดนครราชสีมา? ตำแหน่งหัวหน้าแผนกตำรา? กองหัตถศิลป? กรมศิลปากร? เคยเป็นนายช่างเขียน? กรมช่างสิบหมู่? และเป็นผู้ออกแบบเขียนรูปท้าวสุรนารี (โม)? แต่งกายแบบสตรียืนบนแท่นสูง? มือซ้ายท้าวสะเอว? มือขวากุมดาบ

เมื่อหล่อสำเร็จจึงจัดตั้งประดิษฐานเป็นสง่างาม? มีความสูง 185 ซม.? น้ำหนัก 325 กิโลกรัม? กระทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์? เมื่อวันที่ 15 มกราคม? พ.ศ.2477? และได้จัดให้มีงานสมโภชฉลองอนุสาวรีย์เป็นครั้งแรก? เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2477? เป็นเวลา 7 วัน? 7 คืน? พร้อมกันนั้นได้จัดพิธีเผาศพทหารฝ่ายบวรเดชที่เสียชีวิตด้วย

ในโอกาสดังกล่าวนี้? ทางศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาก็ได้สร้าง? เหรียญท้าวสุรนารี (โม)? รุ่นแรก? มีเนื้อทองแดง? เนื้อเงิน? และเนื้อทองคำ? โดยทางการได้แจกข้าราชการ? และจำหน่ายแก่ผู้บริจาคเงินสมทบการกุศล? เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (โม)? เมื่อวันที่ 23 มีนาคม? พ.ศ.2477? การจัดงานฉลองครั้งนั้นมีประชาชนชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียง? พากันมาสักการบูชากันเนืองแน่นไม่ขาดสาย? จัดเป็นงานมโหฬารยิ่งใหญ่ในยุคสมัย 80 ปีก่อนโน้น

( ที่มา : ลานโพธิ์ ฉบับที่ 838 เดือนกันยายน 2544 : พระ? ดี? เด่น? ดัง : เหรียญท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) รุ่นแรก พ.ศ.2477 จังหวัดนครราชสีมา ภาพและเรื่องโดย...นายแพทย์จรัญ ชัยศิริ
เข้าชมร้าน     ฟิล์ม นคราชสีมา
โทรศัพท์     0935241905 ,
ผู้เข้าชม   8562
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา