พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  อ้วน สมุทรสาคร
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)หายากสุดๆ



พระเครื่อง พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)หายากสุดๆ

พระเครื่อง พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)หายากสุดๆ



รหัสพระเครื่อง   MT1016429
ชื่อพระเครื่อง   พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)หายากสุดๆ
ราคา      ขายแล้ว 
รายละเอียด    พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)หายากสุดๆ

พระพุทธชินราชอินโดจีน2485(ตอกโค๊ตจุฬามุนี)นมอกเลา ที่วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก นั้น ถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาที่โปรดให้ทำบานประตูวิหารโดยการ "ประดับมุก" ซึ่งนับเป็นบานประตูประดับมุกที่งดงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงขนาดตรัสถึงนมอกเลาที่นี่ในคราวเสด็จนมัสการพระพุทธชินราชว่า "นี่แหละ ของวิเศษมีอยู่ที่นี่" สาเหตุที่ตรัสเช่นนี้ นอกจากความงดงามแห่งศิลปะที่ยากจะหาใครเสมอเหมือนแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า "นมอกเลา" นี้ คนโบราณนิยมอาราธนานำผ้าขาวบางมาวางทาบแล้วซับด้วยหมึก เพื่อนำติดตัวไปออกศึกสงคราม หรือเป็นเครื่องรางชั้นสูงในหมู่ประชาชนทั่วไป พระรูปหล่อพระพุทธชินราช อินโดจีน ส่วนใหญ่ได้ทำการตอกโค๊ดและมีบางองค์ที่กรรมการได้ตอกโค๊ดธรรมจักร 2 ครั้งเรียกกันว่า 3 โค๊ดซึ่งอาจจะเนื่องด้วยเพื่อแจกคณะกรรมการหรือผู้ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้แจกผู้ติดตามและผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่ช่วยงาน แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ไม่ได้ตอกโค๊ดเนื่องจากโค๊ดชำรุดเสียก่อน ซึ่งบางท่านก็ได้นำพระที่ไม่ได้ตอกโค๊ดไปให้เกจิอาจารย์ในพิธีได้ลงอักขระเลขยันต์ตามตำราของท่าน นอกจากนั้นยังมีพระพิมพ์เฉพาะที่หลวงพ่อเขียนและหลวงพ่อดำ แบ่งไปเพื่อแจกลูกศิษย์ และพระพุทธชินราช อินโดจีนที่ไม่ได้ตอกโค๊ด จึงถูกนำไปตอกโค้ดคำว่า "จุฬามุนี" ที่บริเวณใต้ฐานด้วยบางส่วน ซึ่งมีการ สันนิษฐานว่าเป็นการนำพระไปตอกโค้ดเช่นนี้อยู่ 2 ประเด็นคือเป็นเกจิท่านหนึ่งที่มาปลุกเสกด้วย คือหลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และอีกประเด็นหนึ่งคือการนำพระขึ้นไปตอกโค้ดที่วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในทั้ง สองประเด็นนี้ก็ไม่สำคัญเท่ากับ "พระแท้" ที่ตอกโค้ดพิเศษเช่นกัน และสุดท้ายยังมีการตอกด้วยชื่อสกุลของบุคคลต่างๆเพื่อเป็นมรดกสืบทอดให้ลูกหลานของเจ้าของพระ แต่ละพิมพ์ก็แยกย่อยออกเป็นหลายแม่พิมพ์ หลายบล๊อก อีกทั้งยังมี พิมพ์ครึ่งซีก พิมพ์ปั้ม รวมไปทั้งพิมพ์แต่งหุ่นเทียนและพิมพ์แต่งเก่า พระองค์ที่หล่อออกมาได้ดี สวย ให้บูชาราคาองค์ละ 2 บาทส่วนองค์ไหนหล่อไม่สมบูรณ์ ราคาองค์ละ 1 บาทถ้าหากจะแต่ง (ปัจจุบันเรียกพระที่แต่งสมัยนั้นว่าพิมพ์แต่งเก่า) ต้อง จ่ายเพิ่มอีก 1.50 บาทเลยทีเดียว พระพุทธชินราชอินโดจีนเนื้อหามวลสารเป็นเนื้อทองผสมจะมีผู้ที่บริจาคทั้งทองคำ เงิน นาค ทองเหลืองและวัตถุอื่นๆ จึงมีเฉพาะบางองค์ที่มีเนื้อหา แก่ทองคำและแก่เงินแต่จะพบเจอน้อยมากๆ เพราะเจ้าของที่ครอบครองต่างก็หวงกันทั้งนั้น อีกทั้งยังมีรูปหล่อเปียกทอง เปียกเงิน เปียกนาค ทั้งดั่งเดิมตั้งแต่ หล่อหลอมออกมาหรือเจ้าของสมัยนั้นมีความชื่นชอบได้นำไปเปียกหรือนำไปกะไหล่มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งพระพุทธชินราชอินโดจีนมีพุทธลักษณ์องค์ใหญ่ ในสมัยก่อนช่างต้องใช้ทองคำแท้ถึง 1 บาทในการเปียกทองรูปหล่อพระพุทธชินราชจึงทำให้มีผลต่อราคาที่สู้ค่าทางทรัพย์สินและจิตใจมาถึงปัจจุบัน ที่ยิ่งกว่านี้คือพระที่มีเนื้อหามวลสารจากเนื้อของปิ่นโตหรือเนื้อเมฆสิทธิ์ที่มีจำนวนน้อยมากๆ พระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์การสร้างพระเครื่องชุดนี้ยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราชจากจังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบมีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย 1. ประเภทพระบูชาพระพุทธชินราช สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงามีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพุทธชินราชองค์ปัจจุบันการจัดสร้างในครั้งนั้นจัดสร้างตามจำนวนผู้สั่งจอง โดยผู้ที่สั่งจองจะต้องส่งเงินจำนวน 150 บาท ต่อ 1 องค์ ไปยังคณะกรรมการเพื่อเป็นทุนจัดสร้างเท่านั้น และมีการแจกจ่ายให้กับจังหวัดทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 องค์ ทั่วประเทศ โดยทางรถไฟ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพิมพ์ เนื้อหามวลสาร ที่มีการจัดสร้าง และสามารถแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยๆด้วยข้อแตกต่างของแต่ละพิมพ์อีกมากมาย หากจะให้นำมาลงทั้งหมดเกรงว่าท่านผู้ชมจะเบื่อซะก่อน ถ้านับจริงๆ ประเภทรูปหล่อ พระพุทธชินราชอินโดจีน มีทั้งหมดเกือบ 100 พิมพ์ ทั้งที่มีการหมุนเวียนในสนามพระเครื่อง และที่มีความหายากมากๆ หรือเป็นพิมพ์ที่ไม่เคยพบเจอ ,มีพิเศษเฉพาะ ,มีจำนวนน้อยมากๆ เนื่องจากต้องยืนยันด้วยโค๊ดที่ตอก ต้องเหมือนกับพิมพ์อื่นๆ ของพระพุุทธชินราชอินโดจีน นอกจากนั้นพิมพ์พระแปลกๆ ที่ไม่มีโค๊ด ยังไม่มีการบันทึกว่าเป็นชินราชอินโดจีน นอกซะจากต้องมีจากบุคคลน่าเชื่อถือที่เคยพบเจอมาก่อน หรือที่ครอบครองไว้เท่านั้น เช่น พิมพ์หลวงพ่อเขียน เป็นต้น เพื่อสามารถยืนยันเพื่อเป็นมาตราฐานเดียวกันในการเช่าบูชา โดยทั้งหมดนั้นแยกออกมาในพิมพ์หลักๆทั้งหมด 4 พิมพ์ที่ได้กล่าวข้างต้นคือ พิมพ์สังฆาฏิยาว ,พิมพ์สังฆาฏิสั้น ,พิมพ์ต้อบัวขีด และพิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง 3.ประเภทเหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน รูปเสมา สร้างด้วยวิธการปั๊มมีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมาด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้วส่วนด้านหลังของเหรียญจะเป็นรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ให้บูชาราคาองค์ละ 50 สตางค์ แยกแบ่งเป็น 2 พิมพ์หลักๆ คือ สระอะจุด และสระอะขีด นอกจากนั้นแล้วจะมีเหรียญชนิดพิเศษที่นำไปกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน เพื่อที่ไว้สำหรับแจกผู้สนิทชิดใกล้สมเด็จพระสังฆราช (แพ) และผู้ที่ได้ทำงานเป็นข้าราชบริพานหรือแจกให้กับคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติ รวมทั้งให้กลับไปยังเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสก มีทั้งแบบแหนบ และแบบเข็มกลัด และที่พิเศษไปกว่านั้นท่านผู้ชมจะได้เห็นคือเหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีน เนื้อเงิน ซึ่งหาได้ยากยิ่ง
เข้าชมร้าน     อ้วน สมุทรสาคร
โทรศัพท์     086-3376659 ,
ผู้เข้าชม   46585
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา