พระเครื่อง มณเฑียร
 ร้าน  xxxx
 
 พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าพระมณเฑียร      พระเครื่อง  มณเฑียร หน้าร้าน    พระเครื่อง  มณเฑียร การรับประกัน / การชําระเงิน     พระเครื่อง  มณเฑียร รายละเอียดของร้าน

พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o



พระเครื่อง พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o

พระเครื่อง พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o



รหัสพระเครื่อง   MT1010894
ชื่อพระเครื่อง   พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o
ราคา      โทรถาม 
รายละเอียด   พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o """""""""""""""พระกริ่งนวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o พระกริ่งพระชัยวัฒน์นวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o พระกริ่งพระชัยวัฒน์นวราชบพิตรวัดตรีทศเทพฯปี๒๕๓o พระกริ่งพระชัยนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพปี2530 หรือพระกริ่งวัดตรีทศเทพรุ่น2 ในหลวงเสด็จเททอง พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร พ.ศ 2530 พระชุดนี้ถือเป็นสุดยอดพระเครื่องอีกรุ่นหนึ่ง โดยส่วนตัวผมถือว่าพระชุดนี้เป็นพระเครื่องแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวโดยแท้ครับ พระเครื่องชุดนี้ได้รวบรวมสิ่งอันเป็นมหามงคลวาร อันหาใดเปรียบได้ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ โปรดเกล้าฯ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้หล่อพระพุทธนวราชบพิตร เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพฯ รวมถึงพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร อย่างละ 999 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็น “นวราชบพิตร” ซึ่งถือเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ดังนั้นพระนามของพระชุดนี้จึงถือเป็นสิ่งมงคลยิ่งอีกประการหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้ง สมเด็จพระเทพฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อพระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ในวันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 หล่อในมหามงคลสมัยอันเป็นมิ่งมงคลยิ่ง ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบพระนักษัตร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ชนวนสำคัญที่ใช้ในการหล่อพระชุดนี้ ประกอบด้วย ชนวนพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509 (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่ให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ) , ชนวนพระกริ่งปวเรศ (รุ่นแรก), ผงสมเด็จจิตรลดา, เส้นพระเกศาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ทองคำ, เงิน, นาก และเครื่องยศของนายทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมในพิธีฯ สมเด็จพระสังฆราช (วาส), สมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบัน), พระวัชรธรรมาภรณ์ (เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร) และคณะสงฆ์ ได้เข้าร่วมพิธีมหามงคลนี้ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตรได้รับพิธีพุทธาภิเษก 3 แห่ง ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร, วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ขนาดรูปทรง และประเภทของเนื้อโลหะ พระพุทธนวราชบพิตร มีพุทธลักษณ์เช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509 ส่วนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้นำแบบของพระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ปี 2491 และพระกริ่งวัดสุทัศน์ มาปรับปรุงแบบให้ได้พุทธลักษณ์ที่งดงามและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของวัด ตรีทศเทพฯ - พุทธนวราชบพิตร ขนาดหน้าพระเพลา 61 x 9 นิ้ว ส่วนสูง 89 นิ้ว พระรัศมี 14 นิ้ว ฐานถึงบัว 19 นิ้ว ส่วนกว้าง 72 นิ้ว - พระกริ่งนวราชบพิตร ฐานกว้าง 1.9 ซม. สูง 3.3 ซม. ใต้ฐานคว้านใหญ่แล้วบรรจุผงพระสมเด็จจิตรลดา เส้นพระเกศาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เส้นเกศาพระเจ้าฯ) และบรรจุเม็ดกริ่งลงไป ตอกปิดด้วยแผ่นโลหะ มีการตอกโค๊ดตัวอุ ที่ฐานด้านหลังองค์พระ - พระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ฐานกว้าง 1 ซม. สูง 1.8 ซม. ตอกโค๊ตตัวอุ ใต้ฐาน (เท่าที่พบเห็นไม่มีการอุดกริ่งใดๆ) - ลักษณะกล่องที่บรรจุ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร เป็นกล่องกำมะหยี่ มีน้ำเงินมีตรา ภปร. (คล้ายกล่องบรรจุพระกริ่งปวเรศ ปี 2530) มีข้อความจารึกไว้ที่ฝากล่องด้านในว่า “พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร มหามงคลวาร เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร 5 ธันวาคม 2530” พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร หล่ออย่างละ 999 องค์ (ไม่มีการหล่อเผื่อเสียและทำลายเบ้าทิ้งทั้งหมด) พระชุดนี้แบ่งออกเป็น 2 เนื้อ (อย่างละใกล้เคียงกัน) คือ เนื้อนวโลหะ (กลับดำคล้ายพระกริ่งปวเรศ) และเนื้อทองล่ำอู่ (กลับน้ำตาลอมแดง คล้ายพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509) ทั้งนี้ในจำนวนพระกริ่งที่หล่อทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 99 องค์ ได้ทาชาดแดงไว้ที่ใต้ฐานองค์พระกริ่ง ขนาดรูปทรง และประเภทของเนื้อโลหะ พระพุทธนวราชบพิตร มีพุทธลักษณ์เช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509 ส่วนพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ได้นำแบบของพระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ปี 2491 และพระกริ่งวัดสุทัศน์ มาปรับปรุงแบบให้ได้พุทธลักษณ์ที่งดงามและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของวัด ตรีทศเทพฯ - พุทธนวราชบพิตร ขนาดหน้าพระเพลา 61 x 9 นิ้ว ส่วนสูง 89 นิ้ว พระรัศมี 14 นิ้ว ฐานถึงบัว 19 นิ้ว ส่วนกว้าง 72 นิ้ว - พระกริ่งนวราชบพิตร ฐานกว้าง 1.9 ซม. สูง 3.3 ซม. ใต้ฐานคว้านใหญ่แล้วบรรจุผงพระสมเด็จจิตรลดา เส้นพระเกศาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เส้นเกศาพระเจ้าฯ) และบรรจุเม็ดกริ่งลงไป ตอกปิดด้วยแผ่นโลหะ มีการตอกโค๊ดตัวอุ ที่ฐานด้านหลังองค์พระ - พระชัยวัฒน์นวราชบพิตร ฐานกว้าง 1 ซม. สูง 1.8 ซม. ตอกโค๊ตตัวอุ ใต้ฐาน (เท่าที่พบเห็นไม่มีการอุดกริ่งใดๆ) - ลักษณะกล่องที่บรรจุ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร เป็นกล่องกำมะหยี่ มีน้ำเงินมีตรา ภปร. (คล้ายกล่องบรรจุพระกริ่งปวเรศ ปี 2530) มีข้อความจารึกไว้ที่ฝากล่องด้านในว่า “พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร มหามงคลวาร เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร 5 ธันวาคม 2530” พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร หล่ออย่างละ 999 องค์ (ไม่มีการหล่อเผื่อเสียและทำลายเบ้าทิ้งทั้งหมด) พระชุดนี้แบ่งออกเป็น 2 เนื้อ (อย่างละใกล้เคียงกัน) คือ เนื้อนวโลหะ (กลับดำคล้ายพระกริ่งปวเรศ) และเนื้อทองล่ำอู่ (กลับน้ำตาลอมแดง คล้ายพระพุทธนวราชบพิตร ปี 2509) ทั้งนี้ในจำนวนพระกริ่งที่หล่อทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 99 องค์ ได้ทาชาดแดงไว้ที่ใต้ฐานองค์พระกริ่ง การครอบครองและการเช่าบูชา - สำหรับผู้มีจิตศรัทธาที่ถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลในการหล่อพระพทุธนวราชบพิตร พระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร จำนวน 10 ราย (ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลในตระกูล “นพวงษ์” โดยบริจาครายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท) ได้รับพระราชทานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์นวราชบพิตร จำนวน 1 ชุด - พระราชทานให้กับผู้มีจิตศรัทธาที่ถวายเงินทำบุญ (ทอดกฐิน-ผ้าป่า)ให้กับวัดตรีทศเทพฯ - ทางวัดตรีทศเทพฯ ให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชา ชุดละ 20,000 บาท ซึ่งเมื่อดำเนินการได้ไม่นานนัก พระวัชรธรรมาภรณ์ (เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร) ได้ถึงแก่มรณภาพลง ทำให้หยุดการให้เช่าบูชาพระชุดนี้ (ตามรายชื่อผู้มีจิตศรัทธา มีประมาณ 200 ราย ที่ได้เช่าบูชาพระชุดนี้ไป) ดังนั้นพระชุดนี้จึงพบเห็นน้อย และส่วนใหญ่จะอยู่นายทหาร ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หมายเหตุ ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ จากสูจิบัตร พระพุทธนวราชบพิตร และสอบถามข้อมูลจากผู้เข้าร่วมในพิธีฯ พระชุดนี้หล่ออกมาเป็นสองเนื้อหาคือเนื้อนวะโลหะและเนื้อทองล่ำอู่ชุดนี้เป็นเนื้อนวโลหะเนื้อกลับดำจัดๆ สวยมีเสน่ห์มากๆหายากนะครับเมื่อเทียบกับพระกริ่งปวเรศปี ๓o เนื่องจากมีจำนวนการสร้างน้อยมาก
เข้าชมร้าน     xxxx
โทรศัพท์     xxx-xxx-xxxx ,
ผู้เข้าชม   3445
***  พระเครื่อง มณเฑียร  ***



  พระเครื่อง มณเฑียร   สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ปี 2011 ชมรมพระเครื่อง มณเฑียร   พระเครื่อง มณเฑียร  
 
พระเครื่อง มณเฑียร เว็บไซด์ : พระมณเฑียร : WWW.PRAMONTIEN.COM   พระเครื่อง มณเฑียร
 
ห้ามคลิกขวา